สวีเดนกับการจัดการขยะครบวงจรที่แสนจะน่าทึ่ง

สวีเดนกับการจัดการขยะครบวงจรที่แสนจะน่าทึ่ง

เราอาจเข้าใจกันว่าการทิ้งขยะลงในถังขยะคือวิธีการจัดการขยะที่เบ็ดเสร็จแล้ว จริงๆแล้วการจัดการขยะต้องเริ่มก่อนที่จะนำขยะมาทิ้งในถังขยะหรือถุงขยะ ในต่างประเทศที่มีการจัดการขยะอย่างได้ผลนั้นมีมาตรการหลากหลายที่น่าสนใจ ทำให้ลดปัญหาขยะล้นเมืองลงไปได้ มีหลากหลายวิธีการที่เราอาจเอามาปรับใช้กับประเทศไทยหรือแม้แต่ในครัวเรือนของเรา มาดูกันเลย

ประเทศที่มีการจัดการขยะอย่างครบวงจร  คือ   สวีเดน  เริ่มจากบวกราคาค่ามัดจำของบรรจุภัณฑ์ลงไปในเครื่องดื่ม เมื่อนำขวดที่ใช้แล้วกลับมาใส่ตู้รับ ก็จะได้เงินตามจำนวนมัดจำกลับไป  เป็นมาตรการเบื้องต้น แล้วยังมีมาตรการระดับประเทศในระยะยาวที่น่าสนใจ  ชาวสวีเดนได้รับการปลูกฝังให้คัดแยกขยะออกเป็นประเภททำให้ง่ายต่อการนำขยะไปแปรรูป  ปัจจุบันสวีเดนกลายเป็นประเทศผู้นำด้านการบริหารจัดการขยะและการผลิตพลังงานจากขยะ (Waste-to-Energy) ในระดับนานาชาติสวีเดนมีขยะที่ต้องนำไปกลบฝังเพียง 0.08 % ของปริมาณขยะทั้งหมดในประเทศและต้องนำเข้าขยะจากต่างประเทศเพื่อผลิตเป็นพลังงาน  สวีเดนตั้งเป้าชัดเจนที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ “ของเสียเหลือศูนย์” หรือ Zero Waste ภายในปี 2563  สวีเดนเน้นนำเทคโนโลยีเข้าช่วยจัดการและลงทุนกับการวิจัยในเทคโนโลยีการบริหารจัดการขยะ  สวีเดนยังสามารถสร้างโรงงานผลิตพลังงานจากขยะโดยเทคโนโลยีขั้นสูง และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2.2 ล้านตันต่อปี

นอกจากนั้นยังมี ประเทศอื่นๆที่มีมาตรการน่าสนใจ เริ่มกันที่  อเมริกา เดนมาร์ก ออสเตรเลีย เยอรมนี และอีกหลายประเทศใช้ระบบมัดจำ และคืนเงิน เพื่อเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ นำกลับมารีไซเคิล ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วให้มากที่สุด

ส่วนที่ญี่ปุ่นมีการเก็บภาษีในการใช้ถุงพลาสติกในราคา 5 เยน ต่อหนึ่งใบ คิดเป็นเงินไทยประมาณใบละ 1.50 บาท และมีมาตรการการแยกขยะอย่างเคร่งครัด รวมทั้งพยายามทำให้เกิดขยะน้อยที่สุด

ที่  แคนาดา มีการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการลด และคัดแยกบรรจุภัณฑ์อย่างถูกต้อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคลดการใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย ซึ่งได้ผลดีมาก

ประเทศสิงคโปร์ สร้างวินัยในการจัดการขยะโดยให้ประชาชนทิ้งขยะเป็นเวลา มีการจัดเก็บขยะหนึ่งครั้งต่อทุก ๆ สองอาทิตย์ และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเดือนละ 150 บาทสำหรับผู้อยู่หอพัก ราคา 400 บาทสำหรับผู้ที่มีบ้านส่วนตัว และโรงงาน บริษัท จะต้องเสียเป็นรายวันโดยคิดเงินตามจำนวนน้ำหนักของขยะ

ยูเครน เป็นประเทศที่ใช้การกำจัดขยะโดยวิธีการฝังกลบ จึงทำให้เกิดโครงการชื่อ LPG ขึ้นมา เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ และผลิตพลังงานไฟฟ้าจากหลุมฝังกลบ

ความสำเร็จในการบริหารจัดการขยะในแต่ละ ไม่ใช่เพียงเพราะการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย  หรือ การใช้กฎหมาย  แต่เกิดจากความร่วมมือระหว่างของทุกส่วน ในการแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งถ้าเราอยากเห็นประเทศไทยเป็นอย่างนั้นได้ เริ่มที่การทิ้งขยะลงถังขยะให้ถูกประเภทก่อนน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

 

 

 

Cleanatic
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.